หน้าหลัก

เครื่องประดับยุค 1970s ไอเทมสุดคลาสสิก ที่ไม่มีวันเอ้าท์

GIT LIbrary Admin มิถุนายน 13, 2023 799 24

ครูเอลล่า (Cruella) ภาพยนตร์ไลฟ์-แอคชั่นเรื่องล่าสุดของดิสนีย์ที่กำลังฉายในสตรีมมิ่ง “Disney+ Hotstar” อยู่ในขณะนี้ และได้รับการขนานนามว่าเป็น “ภาพยนตร์แฟชั่นแห่งฤดูร้อน” ด้วยเรื่องราวต้นกำเนิดในอีกแง่มุมหนึ่งที่เราไม่เคยรับรู้ของตัวร้ายสุดเฟียส ครูเอลล่า เดอ วิล (Cruella De Ville) ที่ในเวอร์ชั่น 2021 ได้นำมาตีความใหม่โดยมีเค้าโครงมาจากนวนิยายสุดคลาสสิกเรื่อง 101 Dalmatians หรือขบวนการหมาจุด ของ โดดี สมิธ (Dodie Smith) ในปี 1956 และภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง ทรามวัยกับไอ้ด่าง ของวอลต์ดิสนีย์ในปี 1961 และแน่นอนว่า ครูเอล่า เวอร์ชั่น 2021 นี้ อาจจะไม่ใช่ “ครูเอลล่า เดอ วิล” หญิงสาวไฮโซผู้คลั่งไคล้ในแฟชั่นขนสัตว์ที่ใครหลายๆ คนรู้จักกันในภาพยนตร์ 101 Dalmatians หรือ 101 ไอ้จุดมหาสนุกในปี 1996 

Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)

ปฐมบทของจอมวายร้ายนามว่า “ครูเอลล่า”

“ครูเอลล่า” เดิมเป็นที่รู้จักในนาม “เอสเตลล่า” (Estella) ที่รับบทโดย เอ็มม่า สโตน (Emma Stone) หญิงสาวผู้ดื้อรั้นเกิดมาพร้อมความพิเศษไม่เหมือนใคร เพราะเกิดมามีผมสีทูโทน (สีดำและขาว) ที่คิดว่าตัวเองเป็นสาเหตุที่ทำให้แม่ต้องตาย ชีวิตผ่านชะตากรรมอันแสนน่าเวทนาและมักรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนชายขอบ ความเป็นจอมวายร้ายของเธอนั้นไม่ได้ร้ายอย่างไร้เหตุผลเสียทีเดียว แต่มีเรื่องราวที่ต้องทำให้เธอต้องกลายเป็นผู้ร้าย เธอยังมีความฝันที่อยากจะเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์ หลังจากการตายของแม่ เธอได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแก๊งค์หัวขโมยสุดแสบซ่าที่มี แจสเปอร์ (Jasper) รับบทโดย โจเอล ฟราย (Joel Fry) และ ฮอเรซ (Horace) รับบทโดย พอล วอลเตอร์ ฮาวเซอร์ (Paul Walter Hauser) และสุนัขตัวน้อยน่ารักสองตัว บัดดี้และวิ้งค์ ประกอบอาชีพลักเล็กขโมยน้อยไปจนถึงอาชญากรรมใหญ่ๆ ทุกประเภท และมีการปล้นเครื่องประดับด้วยเพชรแท้อีกด้วย


Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)
 
Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)
 
Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)

สิ่งที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้วิกผมสีแดง

ครูเอลล่า ได้ปกปิดสีผมของเธอไว้ใต้วิกผมสีแดง กลายเป็น เอสเตลล่า หญิงสาวที่มีพรสวรรค์ด้านการเป็นแฟชั่นดีไซน์เนอร์ ในการก่ออาชญากรรมแต่ละครั้ง สเตลล่าดูเก๋เริ่ดในชุดตระการตาที่เธอตัดเย็บเองเพื่อใช้ปลอมตัว สวมใส่แอคเซสเซอรี่หรูหรา และหิ้วกระเป๋าจาก หลุยส์ วิตตอง (Louis Vuitton) ซึ่งฝีมือการตัดเย็บชุดของสเตลล่าได้ฉายแววความสามารถในฐานะนักออกแบบเสื้อผ้าที่เป็นอาชีพในฝันของเธอนั่นเอง และไม่นานเธอจะได้เข้ามาทำงานกับบารอนเนส ฟอน เฮลแมน (Baroness von Hellman) รับบทโดย  เอ็มม่า ธอมป์สัน (Emma Thompson) แฟชั่นดีไซเนอร์ตัวแม่ เสื้อผ้าทุกชุดของบารอนเนสนั้นสวยงาม หรูหรา น่าทึ่ง ดั่งงานศิลปะที่สวมใส่ได้ และเธอยังสวมใส่เครื่องประดับแบบจัดเต็มอยู่เสมอ และเป็นผู้ที่ทำให้ตัวตนของเอสเตลล่าค่อยๆ เผยความร้ายจนกลายมาเป็น “ครูเอลล่า” อย่างที่เรารู้จักกัน

Emma Stone from Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)
 
Emma Stone from Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)

พล็อตเรื่องของ ครูเอลล่า เวอร์ชั่น 2021 เกิดขึ้นในปี 1970 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ  ท่ามกลางยุคเฟื่องฟูของแฟชั่นพังก์ร็อกที่ทำให้เสื้อผ้าหน้าผมในภาพยนตร์เรื่องนี้มีสีสันและสไตล์ที่เก๋เริ่ดขั้นสุด และยังเป็นแนวทางในการกำหนดสไตล์ของตัวละครอย่าง “ครูเอลล่า” อีกด้วย นอกจากเสื้อผ้าหน้าผม เพลงประกอบภาพยนตร์ และฉากที่ย้อนไปในยุค 70 อันสุดอลังการงานสร้างที่ได้ตรึงผู้ชมไม่ให้ละสายตาตั้งแต่ต้นจนจบแล้วนั้น ส่วนสำคัญที่สุดของหนังเรื่องนี้เห็นทีจะหนีไม่พ้น “เครื่องประดับ” ที่เรียกได้ว่าเป็นตัวเดินเรื่องและมีให้เห็นอยู่ตลอดทั้งเรื่องด้วยเช่นกัน โดยเหตุการณ์ทั้งหมดเริ่มต้นมาจาก “สร้อยคอ” ที่เป็นกุญแจไขความลับชีวิตของ “ครูเอลล่า” นั่นเอง

Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)
 
Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)

อะไรซ่อนอยู่ในสร้อยคอ?

“สร้อยคอ” เครื่องประดับชิ้นสำคัญสมบัติประจำตระกูลของ “ครูเอลล่า” ได้ถูกออกแบบใน สไตล์เอ็ดเวอร์เดียน ตัวจี้เป็นอัญมณีที่มีลักษณะคล้ายโอปอลอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยเพชรมีห่วงคล้องสร้อยเป็นรูปริบบิ้นสามารถถอดออกมาเป็น “กุญแจ” ที่ใช้ไขกล่องที่บรรจุความจริงเกี่ยวกับเชื้อสายของเอสเตลล่าเอาไว้ และสร้อยคอเส้นนี้ยังถูกระบุว่าเป็น “สาเหตุการตายของเอสเตลล่า” อีกด้วย


The Necklace from Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)
 
The Necklace from Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)

ไฮจิวเวลรี่ของแฟชั่นไอคอนตัวแม่ “บารอนเนส”

“บารอนเนส ฟอน เฮลแมน” ตำนานเจ้าแม่แฟชั่นและชนชั้นสูงแห่งยุค 70  ที่เสื้อผ้าหน้าผมต้องดูเป๊ะปังตลอดเวลา ด้วยความที่เป็นแฟชั่นไอคอนในยุคนั้น เจนนี บีแวน (Jenny Beavan) คอสตูมดีไซเนอร์ (Costume Designer) ของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ใช้เครื่องประดับจาก เดอเบียร์ส (De Beers) แบรนด์เครื่องประดับชั้นสูงที่ได้นำเครื่องประดับเพชรอันสุดอลังการมาให้ เอ็มม่า ธอมป์สัน สวมใส่ในภาพยนตร์อีกด้วย โดยบีแวนกล่าวว่า “ตัวละครบารอนเนสต้องการเครื่องประดับที่จริงจังเพื่อให้เข้ากับสไตล์การแต่งตัวของเธอ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมอย่างที่สุดที่ได้เลือกใช้เครื่องประดับเพชรที่เลอค่าและสง่างามจากเดอเบียร์สเพื่อเสริมชุดของเธอให้ดูโดดเด่น” โดยไฮจิวเวลรี่จาก 4 คอลเล็กชั่นของเดอเบียร์ส มีดังนี้

Emma Thompson from Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)
 
Emma Thompson from Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)
 
Emma Thompson from Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)

Arpeggia Collection

สร้อยคอและต่างหูระย้าห้าเส้นจากคอลเล็กชั่น “Arpeggia” ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก Moonlight Sonata ของ Beethoven ประกอบด้วยเพชรทรงกลมแวววาวบนเส้นเรียงซ้อนที่ใช้เทคนิคการฝังเพชรแบบ micropavé ให้ราวกับว่าเพชรเป็นตัวแทนของแต่ละตัวโน้ตดนตรี ที่มีความพริ้วไหวของเส้นสาย ด้วยการจัดเรียงเพชรอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เว้นระยะห่างกันได้อย่างลงตัว ทำให้รู้สึกถึงท่วงทำนองของตัวโน้ตที่มองเห็นได้ และสง่างามเมื่อยามสวมใส่


Diamond earrings from the Arpeggia collection by De Beers
(Photo: De Beers)

Diamond necklace from the Arpeggia collection by De Beers
(Photo: De Beers)

The Diamond Legends Collection

สร้อยคอ “Cupid” จากคอลเล็กชั่น ‘The Diamond Legends’ รุ่นอัพเกรด ด้วยการร้อยเรียงเพชรที่สมมาตรประกบเป็นสร้อยคอที่สง่างามเส้นนี้ เพชรเจียระไนสี่เหลี่ยมแบบ Princess Cut ล้อมรอบด้วยเพชรรูปทรงมาคีที่ร้อยเรียงเป็นแถวขนานกันประหนึ่งปีกขนนกของกามเทพที่ประดับด้วยเพชรแฟนซีสีน้ำตาลอมส้มและสีเทา-เขียวอ่อน


Cupid necklace in diamonds from the Diamond Legends by De Beers
(Photo: De Beers)

Swan Lake Collection

สร้อยคอสุดคลาสสิกจากคอลเล็กชั่น “Swan Lake” ที่ได้ยกย่องความงดงามในท่วงท่าบัลเลต์ของ Tchaikovsky (ไชคอฟสกี) ตัวเรือนประกอบด้วยเพชรแฟนซีสีส้ม สีน้ำตาล และสีเหลือง ที่เจียระไนเป็น มาคี บาแกตต์ และเหลี่ยมกุหลาบ โดยเพชรแต่ละเม็ดฝังแบบหุ้มเผยให้เห็นถึงพลังประกายไฟที่แตกต่างกัน เพชรเม็ดงามที่ห้อยลงมาจากตรงกึ่งกลาง ส่งผลให้เพชรสีเหลืองอมน้ำตาลทรงหยดน้ำนั้นดูโดดเด่นและสวยงาม

 
Swan Lake necklace, yellow and white gold by De Beers
(Photo: De Beers)

Assana Collection

สร้อยคอจากคอลเล็กชั่น “Assana” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานที่ว่า เพชรก่อตัวขึ้นจากดวงดาว และกลายเป็นหยดน้ำเรียงซ้อนเหมือนน้ำตกเมื่อสัมผัสพื้นโลก ตัวเรือนประกอบด้วยเพชรทรงกลมจำนวน 60 เม็ด ประดับด้วยเพชรรูปทรงหยดน้ำ และมาคี ที่ไล่เรียงตามขนาด ตรงกึ่งกลางของสร้อยคอประดับด้วยเพชรรูปทรงหยดน้ำขนาด 2.25 กะรัตที่ดึงดูดและสะกดทุกสายตา

 
Assana necklace in diamonds by De Beers
(Photo: De Beers)

เครื่องประดับสไตล์พังค์ร็อก

เครื่องประดับที่เสริมลุคความเท่ห์ให้กับครูเอลล่าในภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็คือ “เครื่องประดับพังค์ร็อก” การออกแบบที่ผสมผสานกันระหว่างสไตล์บาโรกและโกธิค รูปแบบของเครื่องประดับที่ดีไซน์ให้เป็นหัวกระโหลก กระดุมโลหะแหลมคม โซ่ และเดือย เน้นสีดำ ขาว และแดง เข้ากันได้ดีกับเสื้อหนังรัดรูป เสื้อยืดฉีกขาด ตาเปื้อน… โดยได้รับแรงบันดาลใจตามแบบฉบับของ วิเวียน เวสต์วูด (Vivienne Westwood) แฟชั่นดีไซเนอร์เพลงร็อกแอนด์โรลหรือที่รู้จักในชื่อ Mother of Punk เป็นกำหนดสไตล์ของ “ครูเอลล่า เวอร์ชั่น 2021” ซึ่งทุกอย่างดูลงตัวกับฉากหลังของลอนดอนในยุค 70 ที่การเคลื่อนไหวของพังก์ร็อกกำลังดำเนินไปอย่างเต็มกำลัง

Cruella (2021)
(Photo: Walt Disney Pictures)
 

Multi Heart Harness in Antique Silver by Alexander McQueen 
(Photo: Alexander McQueen)
 
Skull Ear Cuff by Alexander McQueen 
(Photo: Alexander McQueen)

นอกจากเนื้อเรื่องที่สนุกจนต้องตกหลุมรักไปกับเรื่องราวของจอมวายร้าย “ครูเอลล่า” แล้วนั้น ผู้ชมยังได้ดื่มด่ำไปกับมนเสน่ห์ของ คอสตูมสุดอลังการ เสื้อคลุมติดไฟ ชุดขยะ แฟชั่นดัลเมเชี่ยน ฉากหลังอันสวยงาม และเต็มไปด้วยเพลงไพเราะจากยุค 1970s ที่สำคัญเครื่องประดับสุดตระการตาในภาพยนตร์ Cruella เวอร์ชั่น 2021 นี้จะเป็นอย่างไร? ไปพิสูจน์กันได้ที่สตรีมมิ่ง Disney+ Hotstar
 
 
Cruella (2021) Official Trailer by Walt Disney Pictures

เสน่ห์เครื่องประดับแห่งยุค 70

ช่วงทศวรรษ 1970 เรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งในด้านสังคมและการเมืองในตะวันตก รวมถึงด้านแฟชั่น ดนตรี ศิลปะ และเครื่องประดับ แนวคิดการใช้ชีวิตบางอย่างที่กำลังเปลี่ยนไป ทำให้เครื่องประดับมีรูปแบบความเป็นนามธรรมมากขึ้นด้วยการใส่แนวความของผู้ออกแบบลงไปด้วย การออกแบบเครื่องประดับในรูปแบบใหม่ที่สะท้อนการใช้ชีวิต เน้นความคิดที่มากกว่าความงาม และยังเป็นยุคที่ “วิถีชีวิตสไตล์โบฮีเมียน” เข้ามามีอิธิพลในเรื่องของแฟชั่นและเครื่องประดับเป็นอย่างมาก การแต่งตัวที่เน้นความสบาย สามารถมิกซ์แอนด์แมตช์กับบูทหนังหรือรองเท้าแตะ เสริมลุคด้วยผ้าคลุมที่มีโทนสีหลากหลายตั้งแต่สีเข้มอย่าง ดำ เทา หรือน้ำตาล ไปจนถึงสีสันสดใสต่างๆ พร้อมลวดลายปักในแบบของชนเผ่า และเครื่องประดับก็เป็นหัวใจสำคัญของแฟชั่นสไตล์โบฮีเมียน เน้นความเยอะและรุงรัง ไม่ว่าจะกำไล สร้อยคอ หรือแหวนหินต่างๆ ก็นำมาใส่ได้หมด ควรเน้นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน หรือท่อนไม้ เพื่อให้ได้ลุคแฟชั่นโบฮีเมียนที่ดูเป็นธรมชาติ

ไอคอนสไตล์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุค 70 นั้นเห็นจะหนีไม่พ้น โกลดี ฮอว์น (Goldie Hawn) หนึ่งในนักแสดง ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ชื่อดัง และแจ็กเกอลีน เคนเนดี (Jacqueline Kennedy) อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ภริยาของจอห์น เอฟ เคนเนดี้ (John F. Kennedy: JFK) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้ล่วงลับ สตรีผู้นำแฟชั่นตลอดกาล พร้อมด้วยเครื่องประดับมุกสุดหรูหรา


Goldie Hawn from Cactus Flower (1969)
 
 
Jacqueline Kennedy

เทรนด์ของเครื่องประดับยุค 1970s

ยุคเฟื่องฟูของแฟชั่นสไตล์พังก์ร็อก ฮิปปี้ โบฮีเมียน คลาสสิก และดิสโก้ ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ตอนกลางถึงปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแฟชั่นในสไตล์ดิสโก้และโบฮีเมียน เครื่องประดับดิสโก้ที่เน้นประกายระยิบระยับเพื่อใช้สวมใส่ไปไนต์คลับยามราตรี ซึ่งรวมถึงเครื่องประดับราคาประหยัด เช่น กำไลหนา จี้ขนาดใหญ่ และต่างหูห้อย แต่ในขณะที่สไตล์โบฮีเมียนนั้นตรงกันข้าม เพราะเป็นเครื่องประดับที่เน้นการออกแบบให้ใกล้ชิดธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น แหวนอารมณ์ (Mood Ring) สร้อยข้อมือถัก (Friendship Bracelets) และเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย เป็นธรรมชาติ และแปลกใหม่ 

 
1970s Fashion
(Photo: nastaseroxana11.wordpress.com)

 เครื่องประดับขนาดใหญ่ 

เครื่องประดับชิ้นใหญ่อลังการ หรือ Statement Pieces ไอเทมสุดฮิตในปี 1970 ที่สวมใส่แล้วดูโดดเด่นและดึงดูดความสนใจ อาจจะเป็นสร้อยคอประดับด้วยเพชรหรือลูกปัดเรียงเป็นชั้นๆ ให้ดูมีขนาดใหญ่ๆ หนาๆ หรือจะเป็นต่างหูพู่พวงห้อยระย้า ต่างหูห่วงขนาดใหญ่ แหวนวงเล็กวงใหญ่ใส่ให้ดูเยอะดูรุงรัง หลากหลายแมททีเรียลไม่ว่าจะเป็นเพชร โลหะ คริสตัล หินสี พลาสติก หรือเรซิ่น ซึ่งตั้งใจออกแบบให้เด่นกว่าเสื้อผ้า เป็นเครื่องประดับที่ดึงดูดใจสาวๆ หลายคนและวัยรุ่นแนวสตรีทแวร์ ซึ่งเครื่องประดับส่วนมากทำจากวัสดุหลากหลาย ราคาไม่แพง แต่ให้ลุคที่ดูหรูหราและเก๋ไก๋เหมาะสำหรับใส่ไปงานกลางคืน งานปาร์ตี้ในไนต์คลับ หรือดิสโก้เธค 

 
Statement Jewelry in 1970s
(Photo: nastaseroxana11.wordpress.com)
 
Twiggy photographed by Bert Stern 1967 
(Image by Art & Vintage from Flickr)

สร้อยข้อมือถักและกำไลไอดี

กำไลและสร้อยข้อมือในปี 1970 ส่วนใหญ่ทำจากโลหะชุบทองหรือเงิน หลากหลายขนาดและรูปทรง แต่เน้นว่าต้องมีขนาดใหญ่ กว้าง และหนา นอกจากนี้ยังมี “สร้อยข้อมือถัก” (Friendship Bracelets) เป็นสินค้าแฟชั่นยอดนิยมอีกชิ้นหนึ่งโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นยุคนั้น และ “กำไลไอดี” (ID Bracelets) กำไลที่สามารถ Customize ตามใจผู้ซื้อ โดยสลักชื่อของใครบางคนไว้บนกำไลเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากมีความหมายและคุณค่าทางจิตใจมากกว่า โดยคนหนุ่มสาวจำนวนมากในยุคนั้นได้สลักชื่อทหารที่เข้าร่วมรบในสงครามเวียดนามไว้บนกำไลด้วยความหวังว่าพวกเขาจะปลอดภัย และได้กลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

ID Bracelet from the 70's
(Image by ldh from Flickr)
 
Friendship Bracelets
 

แหวนแห่งอารมณ์

แหวนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุค 1970s ก็คือ “แหวนแห่งอารมณ์” (Mood Ring) หรือแหวนเปลี่ยนสี เป็นแหวนที่สามารถบอกคุณได้ว่าคุณกำลังรู้สึกอย่างไรโดยการเปลี่ยนสี ไม่ว่าแหวนนี้จะได้เปลี่ยนสีได้ตามอารมณ์ของคนจริงหรือไม่นั้น แต่แหวนแห่งอารมณ์กลายเป็นไอเทมที่มีรูปแบบที่ดูเท่ห์ ทันสมัย และเข้ากับวัฒนธรรมโบฮีเมียน นอกจากนี้ แหวนค็อกเทล (Cocktail Ring) ขนาดใหญ่ที่มีสีสันสดใสก็ยังเป็นที่นิยมอีกด้วย เหมาะสำหรับสวมใส่ไปงานทางการหรืองานปาร์ตี้สังสรรค์

Mood Ring 
(Photo: moodrings_nostalgiacentral.com)

สร้อยคอเลเยอร์

สร้อยคอแลบเลเยอร์ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน หรือมิกซ์แอนด์แมทช์สร้อยคอโดยใส่มากกว่า 1 เส้นขึ้นไป และเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงจะสวมสร้อยคอหลายๆ เส้นทับกัน เป็นการมิกซ์สไตล์ แมททีเรียล และประเภทของสร้อยคอต่างๆ ที่หลากหลายเข้าด้วยกัน จับคู่กับเสื้อคอเต่าหรือคอวีลึก สร้างความน่าสนใจให้กับเสื้อผ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งสร้อยคอแบบเลเยอร์นี้ก็ยังคงความนิยมมาถึงยุคปัจจุบันและไม่เคยตกเทรนด์ นอกจากนี้ “โชคเกอร์” ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน มีหลากหลายสไตล์ ส่วนมากใช้ไข่มุกเทียม มักออกแบบให้เป็นเส้นยาว เป็นชั้นๆ และมักสวมใส่แบบติดคอ

Layer Statement Necklaces 
 
1970s Diamond Natural Pink Coral Gold Graduated Necklace

วัสดุธรรมชาติและเต็มไปด้วยสีสัน

เครื่องประดับที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ หิน เปลือกหอย และกระดูกสัตว์ กลายเป็นไอเท็มยอดนิยมอย่างเหลือเชื่อ “เทอร์ควอยซ์” อัญมณีสีฟ้าครามที่เป็นที่นิยมของยุคนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมต่อมนุษย์ให้เข้ากับโลกแห่งธรรมชาติ และยังสะท้อนให้เห็นในสีสันที่นำมาใช้ในเครื่องประดับ เช่น สีส้ม และสีเขียว

Bohemian Jewelry Style 

แรงบันดาลใจที่หลากหลาย

ชาติพันธุ์ที่หลากหลายมีให้เห็นอยู่ทั่วไปในทศวรรษ 1970 มีการเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมที่เพิ่มมากขึ้น เช่น Black Power หรือการต่อสู้เพื่อสิทธิความเท่าเทียมของ “คนผิวสี” ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นอย่างมากสะท้อนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนผ่านลวดลายแบบดั้งเดิม เครื่องประดับที่ได้แรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมเหล่านี้ เห็นได้ชัดเจนผ่าน “แฟชั่นโบฮีเมียน” และได้มีอิทธิพลไปสู่วงการเครื่องประดับ

 
Bohemian Jewelry Style 
(Photo: nastaseroxana11.wordpress.com)

ยุคแห่งเครื่องประดับ “ทองคำ” 

โลหะมีค่าที่นิยมนำมาใช้ทำเครื่องประดับในช่วงทศวรรษ 1970 เป็นอย่างมาก ก็คือ “ทองคำ” ด้วยความโดดเด่นอันงดงามของสีทองเหลืองอร่าม ทำให้ดีไซเนอร์หรือแบรนด์ต่างๆ นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับไม่ว่าจะเป็น ห่วงทอง โซ่ทอง และกำไลทอง สามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภูมิภาคของอเมริกาและยุโรปในช่วงกลางศตวรรษ แน่นอนว่าโทนสีทองที่เหลืองอร่ามนี้ดูกลมกลืนเข้ากับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี และได้นำมาทำเครื่องประดับชั้นสูงอีกด้วย ซึ่งแบรนด์ไฮจิวเวลรี่ชั้นนำในทศวรรษนี้ ก็คือ แวน คลีฟ แอนด์ อาร์เปลส์ (Van Cleef & Arpels), คาร์เทียร์ (Cartier), มอบูสซิน (Mauboussin), บูเชรอง (Boucheron), เดวิด เว็บบ์ (David Webb), ทิฟฟานีแอนด์โค (Tiffany & Co.) และบุลการี (Bulgari) ทุกแบรนด์มีสไตล์การดีไซน์เครื่องประดับที่มีรายละเอียดที่แตกต่างออกไป แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ การเลือกใช้อัญมณีที่หลากหลายแและการออกแบบให้มีการผสมผสานกันระหว่าง อัญมณีมีค่า เช่น ทับทิม ไพลิน มรกต และเพชร และอัญมณีกึ่งมีค่า เช่น ปะการัง หินคริสตัล เทอร์ควอยซ์ และลาพิส ลาซูลี เข้าไว้ด้วยกันประดับอยู่บนตัวเรือนที่ทำจากทองคำ

 
Coral and Agate Earrings from 1970s by Boucheron

สาเหตุที่ “ทองคำ” ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในทศวรรษ 1970 อาจเกิดจากอิทธิพลของเครื่องประดับอินเดีย ดีไซน์เนอร์หรือแบรนด์ชั้นนำต่างๆ ได้นำเอาเอกลักษณ์ของศิลปะการออกแบบเครื่องประดับแบบดั้งเดิมจากศตวรรษที่ 18 และ 19 ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องประดับอินเดียในยุคอาร์ตเดโค วัสดุที่ใช้เป็นแพลทินัมและไวท์โกลด์ซึ่งเป็นโลหะสีขาวในยุคนั้น บริษัทผลิตเครื่องประดับในยุโรปและอเมริกาได้แรงบันดาลใจใหม่ๆ จากสีเหลืองของ  “ทองคำ” ที่มักนิยมใช้ในเครื่องประดับของอินเดียที่ประดับด้วยเพชรและอัญมณีต่างๆ โดยตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา 
 Gold Sautoir with Yellow and Blue Sapphires, Agate, Citrine
and Ciamonds from 1972 by Bulgari, (Photo: http://www.1stdibs.com)

“เพชร” ที่ได้รับการเจียระไนจะประดับอยู่บนตัวเรือนที่เป็นโลหะสีขาวเพื่อเพิ่มความสดใส เปล่งประกายของอัญมณี แต่มีเพียงช่วงทศวรรษ 1970 เท่านั้นที่นักอัญมณีชาวตะวันตกเปลี่ยนมาใช้โลหะที่มีเฉดสีทองและสร้างความเปล่งประกายมากกว่า การฝังเพชรหรืออัญมณีลงบนตัวเรือน “ทองคำ” จะช่วยให้อัญมณีดูมี 'ความโดดเด่น' สามารถสวมใส่ได้ทุกช่วงเวลาและหลากหลายโอกาสมากขึ้น
A Rock Crystal and Gold Bracelet from 1972 by David Webb

ในปี 1960 ถึง 1970 นิยมสร้างเอฟเฟกต์หรือลวดลายต่างๆ บนพื้นผิวของเครื่องประดับทองคำ เช่น รีด ทุบ ร้อยด้วยเชือก ถัก และบิดเกลียว ดังจะเห็นได้จากงานของ นักออกแบบเครื่องประดับอย่าง แอนดรูว์ กริมา (Andrew Grima), Kutchinsky, พอล บิวรี (Pol Bury) และ แมน เรย์ (Man Ray) ที่ใช้เทคนิคการสร้างลวดลายบนทองคำจนกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในโลกของเครื่องประดับยุคนั้น
Amethyst, Diamond and Gold Ring from 1970s by Andrew Grima
 
 
Yellow Gold & Malachite Manchette Watch from 1970 by Piaget

Textured Gold Ear Clips from 1970 by Van Cleef & Arpels

เครื่องประดับยุค 70 ที่ไม่มีวันเอ้าท์ ไม่น่าแปลกใจเลยที่เทรนด์ของเครื่องประดับจากยุค 1970s ยังไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา และปัจจุบันยังคงพบเห็นได้จากสไตล์การแต่งตัวของกลุ่ม  Millennial และ Gen Z 

ห่วงทอง - ห่วงทองคำที่หนาและใหญ่จากทศวรรษ 1970 และห่วงทองคำแบบบางและมีขนาดใหญ่ของยุค 2000 ไปจนถึงห่วงที่เล็กกว่าและหนากว่าในปัจจุบัน เทรนด์ต่างหูนี้ยังมีสไตล์และไม่เอ้าท์

โซ่ทอง - แม้ว่าโซ่จะไม่เป็นที่นิยมมากนักในยุคนี้ แต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่ตลอดเวลาและยังเป็นที่นิยมสวมใส่โดยคนบางกลุ่มอย่างต่อเนื่องมานานหลายทศวรรษแล้ว

เครื่องประดับของผู้ชาย - เช่นเดียวกับโซ่ทอง เครื่องประดับของผู้ชายมักถูกสวมใส่โดยกลุ่มชายขอบ แต่กำลังกลับมาสู่สังคมกระแสนิยมโดยมีศิลปินยอดนิยมอย่าง แฮร์รี สไตลส์ (Harry Styles) 

Harry Styles (Photo: http://www.pinterest.com)
 

หนังสือแนะนำ

20th century jewelry & the icons of style

Profiles the extraordinary group of women who influenced styles in jewelry design after World War I For centuries the collecting of precious gems and the jewelry fashioned from them was the exclusive prerogative of kings and queens, emperors, popes, and maharajahs. In the aftermath of World War I an extraordinary group of women emerged who had the means to deck themselves in glittering bracelets, rings, necklaces, earrings, tiaras, and brooches. This book presents eleven profiles of glamorous women who assembled these astonishing collections in the mid-twentieth century. The fall of European monarchies meant royal jewels passed into the hands of a new social elite that included figures from show business and the worlds of industry and commerce. The women of the era cut their hair, wore looser-fitting clothes, and had greater freedom than before the war. The change in fashion led to a new style of jewelry—the historic gemstones were reset and new collections created. These influential women included Woolworth heiress Barbara Hutton, the Duchess of Windsor, the film star Merle Oberon, and the great diva Maria Callas. There were also less well-known figures such as the mysterious and beautiful Nina Dyer, whose husbands were the Baron von Thyssen and Prince Sadruddin Aga Khan. The book brings to life the worlds in which these women moved—elegant yachts, extravagant parties—and describes the details of the jewels and the jewelers (Cartier, Van Cleef & Arpels, and Harry Winston) that created the exquisite settings. 300 illustrations in color and black and white

Twentieth-century jewellery : from art nouveau to contemporary design in Europe and the United States

The largest and most diverse anthology on jewelry, supported with a concise, authoritative and stimulating essay. This is the third book in Skira’s series dedicated to the modern decorative arts, following Italian Art Ceramics 1900-1950 and Twentieth-century Fabrics. The work is organized chronologically into eight sections and includes analysis of such topics as the Art Nouveau period; great names such as Cartier, Van Cleef & Arpels, and Tiffany; European and American production from the 1950s; and the advent of computer driven-designs. Twentieth-century Jewellery includes an analysis of some 350 jewels by artists and designers operating in Europe and the United States. The volume also features a biography of the principal production houses, master jewelers and designers; a glossary of technical terms; technical information; a bibliography divided by theme; and an index of names.

The master jewelers

In the mid-nineteenth century, the master jewelers of the Western world began to shed the anonymity under which artist-craftsmen had generally worked. They emerged as individual voices, discarding the bland, predictable standards of the earlier era in jewelry design in favor of evocative new creations. The renowned designers whose work is featured in this book can be instantly identified by their particular interests and discoveries. Faberge emphasized originality of design and the quality of craftsmanship, rather than the intrinsic value of the materials used. Castellani is known for his nostalgic glances back at Etruscan gold work. Lalique was irresistibly fascinated by the strange forms he adapted from nature. The searching, critical eye of a Cartier or a Boucheron lent chic to their beloved abstract patterns. In fifteen chapters written by leading experts in the field, the world of fine jewelry, encompassing its social, aesthetic, and business aspects, springs to life. The magnificent illustrations display extraordinary confections of gold, silver, and platinum, gems cut and polished in every conceivable fashion, and enamels, translucent, opaque, or as clear as stained-glass windowsall designed and executed to enhance the allure of the people fortunate enough to wear them. 377 illustrations, 251 in color. Featuring work by: Boucheron, Bulgari, Cartier, Castellani, Falize, Faberge, Fontenay, Fouquet, Giuliano, Hancock, Lalique, Tiffany, Tillander, Van Cleef & Arpels, Verdura, Vever

และมีหนังสือเล่มอื่นๆ เกี่ยวกับ  “เครื่องประดับจากศตวรรษที่ 20” อีกมากมายซึ่งสามารถหาอ่านได้ที่ชั้นหนังสือ JEWELRY DESIGN COLLECTION ภายในห้องสมุดอัญมณีและเครื่องประดับ หรือสืบค้นได้ที่ https://elibrary.git.or.th หรือ https://opac.git.or.th/Search_Basic.aspx 

พิกัด: ห้องสมุดอัญมณีและเครื่องประดับ ชั้น1 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ถนนสีลม

URL อ้างอิง: https://elibrary.git.or.th/news/detail/71
external-site